วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตำบลตับเต่า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาและเขาสูงติดแนวชายแดนสาธารณะรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว  และจังหวัดพะเยา  บางส่วนเป็นที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำหงาว-งาวไหลผ่าน อาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน ตลอดทั้งปี เพราะระบบน้ำทางการเกษตรค่อนข้างอุดมสมบูรณ์   พื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหงาว-งาว   ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน  และขาดโอกาสในการช่วยเหลือจากหน่วยงานในกรณีประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตร                มีประชากรทั้งสิ้น  ๑๒,๓๒๕   คน  มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ข้าวโพด  ขิง  และกะหล่ำ 
ที่ผ่านมามีกระบวนการทำงานพัฒนามาอย่างต่อเนื่องของเครือข่ายชมรมม้ง   ๕  จังหวัดภาคเหนือตอนบน  ต่อมาได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายในระดับพื้นที่  คือ เครือข่ายเกษตรดอยยาว- ดอยผาหม่นขึ้นโดยมีสมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย (คปท.ชร.)  ให้การหนุนเสริม เครือข่ายมีพื้นที่ครอบคลุม  ๓ ตำบล  ๓ อำเภอ  คือ ต.ปอ     อ.เวียงแก่น  ต.ตับเต่า อ.เทิง และ ต.ยางฮอม  อ.ขุนตาล  มีการขับเคลื่อนงานในประเด็นการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นหลัก  ส่วนประเด็นอื่น ๆ ก็มีการทำงานแบบควบคู่กันไป  เช่น  ประเด็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  ส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ  ศูนย์เรียนรู้ทางวัฒนธรรม ชนเผ่าม้ง  ฯลฯ 
สภาองค์กรชุมชนตำบลตับเต่า  จัดตั้งเมื่อวันที่   ๓ สิงหาคม  ๒๕๕๑   โดยมีหมู่บ้านเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาฯ จำนวน ๙ หมู่บ้านจาก  ๒๕  หมู่บ้าน มีองค์กรชุมชนจำนวน   ๓๙  กลุ่ม  ปัจจุบันมี   ๔๕ กลุ่ม หมู่บ้านที่เข้าร่วมจดแจ้งเป็นสภาองค์กรชุมชนเฉพาะคนชนเผ่าม้ง 
สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ ณ ปัจจุบันคือการเตรียมประกาศขยายเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูซางซึ่งมีการประชุมหลายครั้ง  และประชุมร่วมกับท้องถิ่นมีมติไม่เห็นด้วยกับการขยายแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูซาง   นอกจากนี้พอจำแนกปัญหาต่าง ๆ   ได้ดังต่อไปนี้
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ